ประวัติ “เทศกาลกินเจ” ไขข้อสงสัยแต่งกายชุดขาว-ถือศีล 9 วัน 9 คืน

“เทศกาลกินเจ” ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 (ปฏิทินจีน) หรือตรงกับวันที่ 15 – 23 ตุลาคม 2566 (ปฏิทินไทย) ถือเป็นวันถือศีล งดรับประทานเนื้อสัตว์ หรือผักกลิ่นแรงต่าง ๆ ที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างช้านาน

แม้ได้ยินชื่อนี้ เรามักคิดว่าเป็นเทศกาลของลูกหลานชาวจีน แต่เทศกาลกินเจกลับไม่ใช่ประเพณีของชาวจีนโพ้นทะเลทั้งหมด เพราะชาวจีนในปัจจุบันไม่ค้นพบว่ามีการสืบทอดหรือจัดประเพณีกินเจนี้เลย

ดังนั้นแล้วประวัติของเทศกาลกินเจเป็นอย่างไร ทำไมเมืองไทยเป็นที่นิยม แต่ที่จีนกลับไม่ได้รับความสนใจทำกันทั่วประเทศเหมือนอย่างเรา ทีมข่าวนิวมีเดีย พีพีทีวี ขออาสาพาไปไขคำตอบกัน!

ทำไมในเมืองไทยเป็นที่นิยม แต่ที่จีนกลับไม่ค่อยได้รับความสนใจ

การกินเจเป็นเรื่องเฉพาะถิ่น ไม่ได้ทำทั่วทั้งประเทศ คนที่จีนส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยน และแต้จิ๋ว อยู่ในมณฑลฟูเจี้ยน ซึ่งชาวจีนในละแวกนี้มักอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และภาคใต้ของประเทศไทย จึงเป็นเหตุผลให้ในเมืองไทยเป็นที่นิยม แต่ที่จีนกลับไม่ค่อยได้รับความสนใจนั่นเอง

แต่ชาวจีน เขาจะไม่เรียกว่า “เทศกาลกินเจ” แต่จะเรียกว่า เทศกาลเฉลิมฉลองของพระราชาธิราชทั้ง 9” สันนิษฐานกันว่า เป็นเพราะความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่หล่อหลอมร่วมกับลัทธิขงจื๊อซึ่งมักเกี่ยวข้องกับดาวนพเคราะห์ ชาวจีนเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าในอดีต 7 พระองค์ และพระโพธิสัตว์ 2 พระองค์รวมเป็น 9 พระราชาธิราชหรือดาวนพเคราะห์ เพื่อถือเป็นการสักการะพระราชาธิราชทั้ง 9 พระองค์ จึงต้องถือศีลกินเจเป็นเวลา 9 วันนั่นเอง

ประวัติเทศกาลกินเจ

แต่นอกจากจะเชื่อว่ากินเจเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยเฉพาะพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่ชาวจีนนับถือกันมากแล้ว ยังมีความเชื่ออีกหลากหลายเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลกินเจ แต่ที่นิยมเล่ากันว่า เกิดขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรบุรุษที่ลุกขึ้นมาโค่นราชวงศ์ชิง และกอบกู้ราชวงศ์หมิง เมื่อประมาณสองสามร้อยปีก่อน หลังจากที่ชาวแมนจูยึดครองราชวงศ์หมิง และสถาปนาราชวงศ์ชิงขึ้นมา

ชาวฮั่นซึ่งเป็นลูกหลานราชวงศ์หมิง มีใจคิดก่อการกบฏเพื่อฟื้นฟูอำนาจทางการเมืองของราชวงศ์หมิงให้กลับคืนมา พวกเขาประกอบพิธีนุ่งขาวห่มขาว ไม่กินเนื้อสัตว์และผักที่มีกลิ่นฉุน และท่องบริกรรมคาถาตามความเชื่อของคนจีน เพราะเชื่อว่าจะสามารถป้องกันฟืนไฟได้ แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะถูกทางการปราบปรามด้วยมาตรการอย่างเหี้ยมโหดเด็ดขาด จึงมีผู้พลีชีพไปกับการในครั้งนั้นจำนวนไม่น้อย การกินเจจึงเป็นการรำลึกถึงวีรบุรุษเหล่านี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 ประวัติ “เทศกาลกินเจ” ไขข้อสงสัยแต่งกายชุดขาว-ถือศีล 9 วัน 9 คืน

“เจ” คืออะไร

จากประวัติข้างต้น คำว่า “เจ” จึงมีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ว่า การถือศีลอย่างญวนและจีนที่ไม่กินของสดคาว แต่บริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม

ซึ่งมาจากรากศัพท์ภาษาจีนว่า “เจียฉ่าย” หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสดข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดคาว

ธรรมเนียมปฏิบัติของเทศกาลกินเจ

ดังนั้นเมื่อถึงเทศกาลกินเจ คนส่วนใหญ่จึงมักจะนุ่งขาวห่มขาว เพื่อแสดงถึงการตัดกิเลสจากโลกภายนอก และ ถือศีล กินเจ เป็นระยะเวลา 9 วัน 9 คืนโดยปฏิบัติดังนี้ 1. ) งดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ อันเป็นเหตุให้ไม่ต้องแสวงหาเนื้อสัตว์ หรือทำอันตรายต่อชีวิตสัตว์ ไม่เบียดเบียนสัตว์ในทุกกรณีรวมทั้งน้ำนมและน้ำมัน ที่มาจากสัตว์อีกด้วย 2.) รักษาศีลห้าและรักษาพรหมจรรย์ 3.) ทำบุญทำทาน 4.) รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ 5.) แต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายสีขาว 6.) งดเว้นผักที่ให้กลิ่นแรงต่างๆ เช่น ผักชี กระเทียม หัวหอม ต้นหอม กุยช่าย เพราะถือว่าเป็นสิ่งกระตุ้นอารมณ์

"กินเจ" กี่วันถึงจะดี ไม่ครบ 9 วันได้หรือไม่

สำหรับบางคนที่อาจไม่สะดวกด้วยเหตุปัจจัยบางอย่าง กินเจเป็นระยะเวลา 9 วันอาจไม่สะดวก จะบาปหรือไม่นั้น อาจารย์วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญในวงการภาษาและวัฒนธรรมจีน เคยเปิดเผยเอาไว้ว่า

กินเจเท่าไร ได้ผลบุญเท่านั้น แต่อย่างน้อยขอให้กินเจในวันพระใหญ่ ซึ่งก็คือวันแรกของเทศกาลกินเจ และวันพระใหญ่อีก 3 วันต่อมา จะดีที่สุดเพื่อเป็นการเริ่มต้นสร้างกุศลผลบุญให้แก่ตัวเอง

ดังนั้นการกินเจ จะกินกี่วันก็สามารถทำได้ จะ 1 วัน หรือ 3 วันก็ได้ แต่หากจะให้ดีอาจเริ่มในวันแรกของเทศกาลและอีก 3 วันต่อมา

“ธงเจ” สัญลักษณ์ประจำเทศกาล

ในช่วงเทศกาลกินเจ เราจะสังเกตเห็นธงประจำเทศกาล แต่ทำไมถึงต้องมีรูปลักษณ์แบบนั้น เป็นเพราะ สีเหลืองเป็นสีที่อนุญาตให้ใช้กับคนสองกลุ่มเท่านั้น คือ กลุ่มกษัตริย์ ราชวงศ์ และ กลุ่มอาจารย์ปราบผี ดังจะเห็นจากยันต์สีเหลืองตามภาพยนตร์จีน ดังนั้นสีเหลืองจึงเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล

ส่วนบนธงจะเขียนตัวอักษรสีแดง อ่านว่า “ใจ” หรือ “เจ” มีความหมายว่า “ไม่มีของคาว” เหตุที่ใช้สีแดง เพราะชาวจีนเชื่อว่า เป็นสีมงคล สร้างความเจริญให้แก่ชีวิต

สำหรับ ธงเจ นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเป็นเครื่องเตือนใจให้พุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตน ถือศีล กินเจได้ตลอดทั้ง 9 วัน 9 คืน

อย่างไรก็ตามแม้จะมีความเชื่อเกี่ยวกับตำนานที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป แต่ประเพณีนี้ถือว่าช่วยจรรโลงสังคมได้อย่างมาก เพราะช่วยให้ผู้คนปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เกิดจิตเมตตา และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อันเป็นส่วนประกอบสำคัญในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวไทยเชื้อสายจีน จีน และชาวไทยด้วย นี่จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ประเพณีนี้สืบทอดติดต่อกันมายาวนาน

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย,งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอนายายอาม ห้องสมุดประชาชน อำเภอนายายอาม

ภาพจาก : shutterstock และ PPTV