สภา กทม. ตัดงบ 219 ล้าน ติดแอร์ห้องเรียนเด็ก โครงการห้องเรียนปลอดฝุ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ 6 กันยายน 2566 ที่ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมวิสามัญ สมัยที่ 2 (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร, นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ที่ประชุมได้รายงานผลการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 90,570,138,630 บาท

“ฟอร์ซเซลล์” คืออะไร หลัง “แอน จักรพงษ์”ถูกบังคับขายหุ้น JKN 117 ล้านบาท

สภาพอากาศวันนี้ เตือน! เหนือ-อีสาน “ฝนตกหนัก” กทม.เจอฝนฟ้าคะนอง 40 %

โครงการที่คณะกรรมการวิสามัญฯ ได้ขอสงวนความเห็นไว้เพื่อขอให้สภากรุงเทพมหานครวินิจฉัย ได้แก่ นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) เขตลาดกระบัง, นางสาวกนกนุช กลิ่นสังข์ สกคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เขตดอนเมือง, นางสาวรัตติกาล แก้วเกิดมี สก. เขตสายไหม และ นายวิรัช คงคาเขตร สก. เขตบางกอกใหญ่ ขอสงวนความเห็นในประเด็นโครงการการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล 6 กลุ่มเขต

โดยในที่ประชุม ได้ขอให้ตัดงบประมาณโครงการนี้ เนื่องจากมองว่าไม่คุ้มค่ากับงบประมาณในการปรับปรุง ซึ่งให้ความเห็นว่า การเขียนโครงการต้องเขียนให้สอดคล้องกับนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. เรื่องเส้นเลือดฝอย การประมาณการเพื่อทำโครงการควรวิเคราะห์ให้สมเหตุสมผล ซึ่งคำขอรับงบประมาณทุกกลุ่มเขตไม่มีการให้รายละเอียดแต่อย่างใด การปรับปรุงห้องเรียนโดยการจัดซื้อเครื่องปรับอากาศอาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกวิธี ต้นทางการแก้ปัญหาคือ การปลูกฝังให้เด็กได้เรียนรู้การปลูกต้นไม้เพื่อกรองฝุ่น ควรปลูกฝังให้เด็กมีความรักและผูกพันกับต้นไม้ และอาจร่วมด้วยการงดกิจกรรมกลางแจ้ง รวมทั้งการหมั่นทำความสะอาด

ทั้งนี้ ความปลอดภัยของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ แต่การนำเด็กไปไว้ในห้องปรับอากาศตลอดเวลาเหมาะสมและปลอดภัยหรือไม่ รวมถึงงบประมาณค่าไฟที่จะต้องเพิ่มขึ้นมา หากกรุงเทพมหานครจะเสนอโครงการพร้อมรูปแบบการติดตั้งโซลาร์เซลล์ในคราวเดียวกันจะเหมาะสมมากกว่า

 สภา กทม. ตัดงบ 219 ล้าน ติดแอร์ห้องเรียนเด็ก โครงการห้องเรียนปลอดฝุ่น

ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร มีมติเห็นชอบกับผู้สงวนความเห็น ให้ตัดงบประมาณของสำนักการศึกษาโครงการดังกล่าวในวงเงิน 219,339,000 บาท

ขณะที่ สก.กทม. บางส่วนได้ลุกขึ้นอภิปราย อย่างนายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ส.ก.ลาดกระบัง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ขอสงวนความเห็น โดยระบุว่า ยังมีคำถามว่า โครงการนี้ ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาหรือไม่ เพราะจริงๆ ที่ผ่านมา กทม.ก็ได้นำร่องทดลองทำห้องเรียนสู้ฝุ่นไปแล้ว 32 แห่ง เพิ่งดำเนินเสร็จเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

โดยเน้นงดกิจกรรมกลางแจ้ง ทำความสะอาดภายในห้องเรียนอย่างสม่ำเสมอ ปิดประตูหน้าต่างอย่างมิดชิด และติดตั้งเครื่องอ่านค่าฝุ่น รวมทั้งรณรงค์การไม่เผา และปลูกต้นไม้ดักฝุ่น แต่ไม่มีอันไหนที่ระบุว่าติดแอร์ และใช้งบประมาณแค่ประมาณหมื่นกว่าบาทที่ขึ้นกับว่าใช้เครื่องกรองอากาศยี่ห้อไหน ก็น่าจะเอาแนวทางที่นำร่องไว้แล้วไปใช้ต่อ

ส่วนงบปรับปรุงที่เสนอมาใหม่นี้ประมาณ 231 ล้านบาท แบ่งเป็นการติดแอร์ 2 เครื่อง ใน 1,743 ห้อง รวมเป็นเงิน 174,300,000 บาท แต่จากข้อมูลการทำห้องเรียนปลอดฝุ่นในต่างจังหวัด เช่น จังหวัดลำปาง ใช้วิธีติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ 2 เครื่อง ถ้าคิดที่ 1,743 ห้อง จะเป็นเงินเพียง 9,935,100 บาท ประหยัดงบประมาณไปได้ถึง 164,364,900 บาท

ด้านนางสาวรัตติกาล แก้วเกิดมี ส.ก.เขตสายไหม พรรคไทยสร้างไทย ได้อภิปรายถึงกรณีของการนำงบประมาณ 200 กว่าล้านบาท มาทำห้องเรียนปลอดฝุ่น ว่าเป็นการสิ้นเปลือง เนื่องจากยังมีห้องเรียนเก่าทรุดโทรมนั้นควรได้รับการปรับปรุงก่อน และเพิ่มสวัสดิการให้ครูกรุงเทพมหานคร จะได้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

นางสาวรัตติกาล ยังกล่าวอีกว่า การใช้งบประมาณนั้นการปรับปรุงห้องเรียนปลอดฝุ่นของชั้นอนุบาล ทั้งเขตกรุงเทพมหานครนั้น จำนวน 429 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 1,743 ห้อง และรวมห้องที่ต้องติดแอร์ 3,846 เครื่อง หากจะแบ่งเป็นห้องเรียนแบบเปิด 870 ห้อง ห้องเรียนแบบปิด 873 ห้อง โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 200 กว่าล้านบาท และยังไม่รวมค่าไฟที่เกิดขึ้นในอนาคตในแอร์ 30,000 BTU ติด 2 เครื่องต่อห้องเรียน และใครเป็นผู้รับผิดชอบที่จะจ่ายค่าไฟเหล่านี้ หากไม่ใช่กรุงเทพมหานคร

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวชี้แจงในที่ประชุมว่า เรื่องนี้อยู่ในนโยบายการจัดพื้นที่ปลอดฝุ่นให้กลุ่มเปราะบาง อายุ 1 – 6 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงอายุที่สมองจะสามารถพัฒนาได้ดีที่สุด หลายครั้งเราละเลยเด็กกลุ่มนี้ ประกอบกับการสอนให้เด็กเล็กใส่หน้ากากทำได้ยาก จึงเกิดแนวคิดทำเรื่องห้องเรียนปลอดฝุ่น หลายครั้งที่ได้ไปเยี่ยมโรงเรียนและเห็นว่าเด็กอยู่ในห้องเรียนที่ร้อน

“ห้องของเด็กที่เป็นอนาคตของชาติ การลงทุนงบประมาณกับเด็กถือเป็นเรื่องที่คุ้มค่า อนาคตต้องมีการติดโซลาร์เซลล์ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเด็กรวยหรือเด็กจนควรได้รับโอกาสในการเรียนในห้องเรียนปรับอากาศ” ชัชชาติ กล่าว

ขณะที่ นายนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กทม.ที่ออกให้ความเห็นเรื่องนี้ ว่า "เสียดาย" ที่สภา กทม.ตัดงบประมาณติดแอร์ปลอดฝุ่นให้เด็กเล็ก ต้องไปดูรายละเอียดที่ทางสภา กทม.น่าจะคิดว่า ยังไม่ค่อยคุ้มค่า ซึ่งต้องกลับมาทำการบ้าน ถือว่ายังทำการบ้านไม่ดี ต้องกลับไปปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดโครงการใหม่

นายศานนท์ ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า เด็กปฐมวัยเป็นช่วงสำคัญมาก ถ้าพัฒนาการไม่ดีก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตระยะยาว และการติดแอร์ไม่ได้ช่วยแต่เรื่องฝุ่น แต่ช่วยสร้างสมาธิด้วย โดยเฉพาะเด็กอนุบาลที่ต้องนอนกลางวัน ซึ่งการนอนในห้องแอร์จะดีกว่า

หากเปิดรายละเอียดโครงการปรับปรุงโรงเรียนปลอดฝุ่นชั้นอนุบาล ในพื้นที่กลุ่มกรุงเทพกลางจำนวน 41 โรงเรียน 140 ห้อง ผู้เสนอ คือ สำนักการศึกษา เป็นเงิน 17,646,000 บาท, กลุ่มกรุงเทพตะวันออก จำนวน 129 โรงเรียน 561 ห้อง เป็นเงิน 70,584,000 บาท , กลุ่มกรุงเทพเหนือ จำนวน 45 โรงเรียน 244 ห้อง เป็นเงิน 30,748,000 บาท, กลุ่มกรุงเทพใต้ จำนวน 55 โรงเรียน 192 ห้อง เป็นเงิน 24,202,000 บาท, กลุ่มกรุงเทพเหนือ จำนวน 89 โรงเรียน 247 ห้อง เป็นเงิน 37,033,000 บาท, กลุ่มกรุงธนใต้ จำนวน 70 โรงเรียน 359 ห้อง เป็นเงิน 45,126,000 บาท รวมทั้งหมด 429 โรงเรียน 1743 ห้อง

สำหรับวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ระบุไว้ว่า จากข้อมูลงานวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี หากได้รับฝุ่น PM 2.5 จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันปอดและสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่ โดยปกติปอดจะพัฒนาเต็มที่เมื่ออายุ 6 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ เด็กมีอัตราการหายใจมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้โอกาสหายใจรับ PM 2.5 มีมากกว่า และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเด็กมักออกไปเล่นกลางแจ้ง

จึงจำเป็นต้องจัดห้องปลอดฝุ่น (Clean Air Shelter) สำหรับเด็กอนุบาล อายุ 3 – 6 ปี (อนุบาล 1-2) ตามมาตาการแนวทางการทำห้องปลอดฝุ่นสำหรับบ้านเรือนและอาคารสาธารณะ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นการติดแอร์ขนาด 30,000 บีทียู จำนวน 2 เครื่อง และพัดลมระบายอากาศ ในแต่ละห้องเรียนขนาด 49 – 64 ตารางเมตร

สรุปรางวัลยอดเยี่ยมวอลเลย์หญิงชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023 ทีมไทย คว้า 3 รางวัล

“กำแพงเมืองจีนเป็นรู” หลังช่างก่อสร้างขี้เกียจอ้อม ใช้รถขุดสร้างทางลัด

เผยสาเหตุ "ซาล่าห์" ย้ายไปซาอุฯ ไม่ได้เพราะสัมพันธ์การทูต