“มนุษย์ทนร้อนได้แค่ไหน-” คำถามสำคัญเมื่ออากาศเมืองไทยร้อนเหลือเกิน
“ร้อนตับจะแตก” “ร้อนจะตายอยู่แล้ว” อาจเป็นประโยคที่ชาวไทยหลายคนในช่วงนี้พูดกันจนติดปาก หลังอุณหภูมิเรียกได้ว่าอยู่ในระดับเฉลี่ย 35-40 องศาเซลเซียสเกือบทุกวัน
ในขณะเดียวกัน ไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้นที่เจอกับความร้อนนรกเรียกพี่แบบนี้ เพราะด้วยปัญหาภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้หลายพื้นที่ทั่วโลกเจอกับอุณหภูมิที่สูงและคลื่นความร้อนกันถี่มากขึ้นเช่นกัน
แต่งบ้าน แนว Summer Color & Natural Style รับหน้าร้อนนอนอยู่บ้าน
ปีนี้จังหวัดไหนอากาศร้อนสุด? กรมอุตุนิยมวิทยา เปิด 4 จังหวัดร้อนตับแตก
กรมอุตุฯ ประกาศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน 5 มี.ค. อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาฯ
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกก็ทำให้มีคำถามที่น่าสนใจเกิดขึ้นว่า อุณหภูมิสูงสุดที่ร่างกายมนุษย์ทนได้อยู่ที่เท่าไหร่? หรือ “คนเราสามารถทนต่ออากาศร้อนได้แค่ไหน?”
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า อุณหภูมิร่างกายของคนเราเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งเวลาเราป่วยเป็นไข้ อุณหภูมิร่างหายมันจะเพิ่มขึ้นเป็น 38-39 องซาเซลเซียส แต่หากสูงมากกว่านี้ ตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะเกิดภาวะ “ไฮเปอร์เทอร์เมีย” (Hyperthermia) หรือร่างกายร้อนเกินไป
ภาวะที่ร่างกายร้อนเกินไปนี้จะทำให้ชีพจรเต้นเร็ว เป็นลม และโคม่า รวมถึงอาจนำไปสู่ปัญหาต่อระบบไตและหัวใจ หรือแม้แต่สมองถูกทำลายได้ พูดง่าย ๆ คือ ถ้าร่างกายเราร้อนเกินไป ระบบการทำงานและอวัยวะต่าง ๆ จะเริ่มติดขัดในการทำงาน
ซึ่งการที่ร่างกายของคนเราจะร้อนไปถึงระดับนั้นได้ ปัจจัยสำคัญคือ “อุณหภูมิภายนอก” และ “ความชื้นในอากาศ”
เวลาที่เราได้ยินข่าวพยากรณ์อากาศรายงานว่า พรุ่งนี้สภาพอากาศจะมีอุณหภูมิสูง 40 องศาเซลเซียสนั้น ไม่ได้หมายความว่า มันจะทำให้ร่างกายของเราร้อนขึ้นไปถึง 40 องศาเซลเซียสตามไปด้วย เพราะกลไกตามธรรมชาติ เมื่อภายในร่างกายของเราร้อนขึ้น จะมีการ “ขับเหงื่อ” ออกมาเพื่อระบายความร้อนในร่างกาย
ดังนั้น การที่เรามีเหงื่อออกมากเวลาเจออากาศร้อน ซึ่งเรามักบ่นว่าเหนียวตัวและไม่ชอบ แท้จริงแล้วจึงเป็นกลไกที่ช่วยให้ร่างกายของเราไม่ร้อนเกินไป แต่ในขณะเดียวกัน การระบายความร้อนผ่านเงื่อก็ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำจำนวนมากด้วย จึงเป็นที่มาของคำสอนที่ว่าควรบริโภคน้ำเยอะ ๆ ในอากาศร้อนนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม มีสภาพอากาศบางลักษณะที่สามารถทำให้ร่างกายของเราขับเหงื่อออกมาไม่ได้ หรือขับเหงื่อออกมาได้น้อย สภาวะเช่นนี้เอง ที่เสี่ยงจะทำให้ร่างกายของเราร้อนเกิน 40 องศาเซลเซียส และคำตอบของคำถามที่ว่า อุณหภูมิสูงสุดที่ร่างกายมนุษย์ทนได้อยู่ที่เท่าไหร่?
คำตอบคือ ร่างกายคนเราสามารถทนความร้อนได้ถึงแค่เมื่อ “อุณหภูมิกระเปาะเปียก” (Wet-Bulb Temperature) อยู่ที่ไม่เกิน 35 องศาเซลเซียสเท่านั้น
อุณหภูมิกระเปาะเปียกไม่ใช่อุณหภูมิทั่วไปที่เราเห็นตามข่าวพยากรณ์อากาศหรือผ่านแอปฯ และวิดเจ็ตในโทรศัพท์มือถือ แต่เป็นอุณหภูมิเมื่อมีการคำนวณ “ความชิ้นในอากาศ” ร่วมด้วย
คอลิน เรย์มอนด์ นักวิจัยจากนาซา (NASA) ซึ่งศึกษาเรื่องความร้อนสูง กล่าวว่า ยิ่งมีน้ำในอากาศ (ความชิ้น) มากเท่าไหร่ เหงื่อก็จะยิ่งระเหยออกจากร่างกายได้ยากขึ้นเท่านั้น ทำให้การระบายความร้อนเป็นไปได้ยาก
เรย์มอนด์บอกว่า เมื่อทั้งความชื้นและอุณหภูมิสูงมาก อุณหภูมิกระเปาะเปียกอาจไต่ไปสู่ระดับที่เป็นอันตรายได้ ตัวอย่างเช่น เมื่ออุณหภูมิของอากาศอยู่ที่ 46 องศาเซลเซียส และความชื้นอยู่ที่ 30% อุณหภูมิกระเปาะเปียกจะอยู่ที่ประมาณ 30.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่แม้จะร้อน แต่ร่างกายเรายังทนได้
ในทางกลับกัน เมื่ออุณหภูมิของอากาศอยู่ที่ 39 องศาเซลเซียส แต่ความชื้นสูง 77% อุณหภูมิกระเปาะเปียกจะอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอันตรายแล้ว
การจะหาอุณหภูมิกระเปาะเปียกของพื้นที่ที่เราอยู่นั้น วิธีดั้งเดิมคือใช้เทอร์โมมิเตอร์ที่คลุมด้วยผ้าชุบน้ำ แต่หากเป็นวิธีสมัยใหม่หน่อย ก็อาจมีแอปฯ หรือวิดเจ็ตบางตัวที่ให้ข้อมูลเรียลไทม์ของอุณหภูมิกระเปาะเปียกในพื้นที่หนึ่ง ๆคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แต่หากโทรศัพท์ของใครให้ข้อมูลได้แค่อุณหภูมิอากาศและความชื้น ก็สามารถเสิร์ชคำว่า “Wet Bulb Calculator” ลงในเสิร์ชเอนจิ้นได้ จากนั้นกรอกอุณหภุมิอากาศและความชื้นลงไป โปรแกรมก็จะคำนวณอุณหภูมิกระเปาะเปียกออกมาให้
ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิที่เขตจตุจักรซึ่งเป็นที่ตั้งของ PPTV ณ เวลา 11.00 น. อยู่ที่ 33 องซาเซลเซียส ความชื้นอยู่ที่ 60% เมื่อคำนวณอุณหภูมิกระเปาะเปียก จะได้ออกมาประมาณ 26.7 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าปลอดภัย
ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า การอยู่ในพื้นที่อากาศร้อนที่อุณหภูมิกระเปาะเปียกไม่ถึง 35 องศาเซลเซียสจะเป็นเรื่องที่ปลอดภัยขนาดนั้น เพราะอุณหภูมิอากาศที่ร้อนแม้ความชื้นต่ำ ก็อาจทำให้เราเกิดภาวะขาดน้ำได้ โดยเฉพาะหากต้องทำงานหรือกิจกรรมใด ๆ ในพื้นที่กลางแจ้ง
ดังนั้นแล้ว การปกป้องตัวเองจากความร้อน ไม่ว่าจะเป็นการหลบในที่ร่ม ดื่มน้ำมาก ๆ ก็ยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้คนไทยทุกคนผ่านหน้าร้อนตับแตกนี้ไปได้อย่างราบรื่น
เรียบเรียงจาก Live Science / MIT Technology Review
ภาพจาก NASA